กองทัพ รัสเซีย ยูเครน ใครเหนือกว่ากัน ? หนึ่งในคำถามที่หลายคนสงสัย เกี่ยวกับสงครามที่เกิดขึ้นในปี 2022 ว่าใครจะได้เปรียบกว่ากัน ท่ามกลางไฟสงครามที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ระหว่าง 2 ประเทศซึ่งมีประวัติศาสตร์ภูมิหลังร่วมกันมาอย่างยาวนาน วันนี้ The Thaiger Thailand เลยรวบรวมเอาคำตอบ มาไขทุกข้อข้องใจ พร้อมคำอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย จะเป็นยังไง ไปติดตามพร้อมกันได้เลยจ้า
กองทัพ รัสเซีย ยูเครน ไขข้อข้องใจ ปมการเมือง พร้อมเจาะลึกกำลังทหารทั้ง 2 ประเทศ
ส่อง กองทัพ รัสเซีย ยูเครน กลายเป็นข่าวดังไปทั่วทั้งโลก ท่ามกลางความวิตกกังวลของหลายประเทศ เกี่ยวกับกรณีสงครามขนาดย่อม ระหว่างรัสเซียและยูเครน เพราะทั้ง 2 ประเทศถือว่า มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโลกไม่น้อยเลย แถมยังมีความแตกต่าง ในเรื่องของกองกำลังทหารพอสมควร ทั้งนี้ The Thaiger เลยอยากรวบรวมเอา ข้อแตกต่างทางแสนยานุภาพของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งในแง่ของอาวุธและกำลังพล มาฝากทุกคนกัน
ย้อนอดีต ความสัมพันธ์ รัสเซีย – ยูเครน ทราบรายละเอียดกองกำลังของทั้ง 2 ประเทศกันไปแล้ว ก็มาย้อนรอยอดีตของทั้งคู่กันบ้างดีกว่า ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่เคยทราบว่า ความจริงแล้วในอดีต ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมาก่อน แต่เมื่อถึงช่วงเวลาที่ราชวงศ์โรมานอฟล่มสลาย ยูเครนจึงได้ขอแยกตัวออกมาเป็นประเทศ โดยมีผู้ให้การสนับสนุนหลักคือประเทศเยอรมนีนั่นเอง แต่พอเวลาผ่านไป เยอรมนีกลายเป็นผู้แพ้สงครามโลก ทำให้สถานภาพของยูเครนสั่นคลอน และเมื่อมีการจัดตั้งสหภาพโซเวียตขึ้น ยูเครนจึงถูกนับรวมเป็นสมาชิกในทันที และกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เวลาผ่านเลยไป สหภาพโซเวียตที่ครั้งหนึ่งเคยมีอิทธิพลต่อโลก และกินพื้นที่กว่า 1 ใน 6 ของพื้นที่ทั้งหมด ก็ถึงคราวต้องล่มสลายลงในช่วงปี 1991 เป็นเหตุให้ยูเครนในขณะนั้น แยกตัวออกมาเป็นเอกราชได้สำเร็จ และได้วางตัวเป็นรัฐกลาง เพื่อสร้างข้อจำกัดทางทหารกับรัสเซียและประเทศอื่น ๆ แต่สิ่งที่ยูเครนได้รับกลับมาจากการเข้าร่วมสหภาพโซเวียตยังคงหลงเหลือไว้ นั่นก็คือหัวรบนิวเคลียร์ จำนวนกว่า 1,250 หัว ที่กลายมาเป็นข้อพิพาทสำคัญในเวลาต่อมา
เนื่องจากนานาชาติต้องการให้ทำลายทิ้ง เพราะกลัวจะเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่ในขณะเดียวกัน ชาวยูเครนบางส่วนกลับมองว่า นี่คือข้อต่อรองชั้นดีที่จะทำให้ยูเครนปลอดภัยจากการถูกรุกราน จนต่อมาได้มีการเซ็นสนธิสัญญา ข้อตกลงบูดาเปสต์ เพื่อเป็นคำมั่นให้ยูเครนกำจัดหัวรบทิ้ง แลกกับเอกราช และเศรษฐกิจที่เดินหน้าต่อไป ท่ามกลางความคิดเห็นที่แยกเป็นสองฝ่ายของประชาชนทั่วประเทศ
การเมืองยูเครน และการเข้ามาของรัสเซีย สร้างชนวนสงคราม
แม้ว่ายูเครนจะได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ดูเหมือนการเมืองภายในประเทศนั้นจะมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา เพราะคนในประเทศได้แตกเสียงออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่อยากเห็นการเติบโตของประเทศในทิศทางของตัวเอง และฝ่ายที่ยังฝักใฝ่รัสเซีย เนื่องจากมีความผูกพันในเชิงวัฒนธรรมและอดีตร่วมกันตั้งแต่ก่อนราชวงศ์โรมานอฟล่มสลาย ตลอดจนในช่วงรุ่งเรืองของสหภาพโซเวียต
ในส่วนของเศรษฐกิจก็ร้อนระอุไม่ต่างกัน เนื่องจากยูเครนเป็นประเทศรอยต่อระหว่างรัสเซียและทวีปยุโรป ทั้งยังมีท่อส่งก๊าซที่สำคัญ ซึ่งเป็นรายได้หลักของรัสเซียตั้งอยู่ด้วย การตัดสินใจทางการเมืองหรือเศรษฐกิจใด ๆ ของยูเครน จึงเป็นที่กังวลและจับตามองของรัสเซียเสมอ รวมถึงข้อตกลงที่ EU หรือ สหภาพยุโรป เสนอให้ยูเครนเข้าร่วมด้วยเช่นกัน
เนื่องจากรัสเซียต้องการให้ยูเครนอยู่กับตัวเองใน EAEU ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจของรัสเซียเช่นเดิม แต่นับเป็นโชคดีของรัสเซีย ที่ประธานาธิบดีคนก่อน ๆ ของยูเครนนั้นชื่นชอบฝั่งรัสเซียมากกว่า ทำให้วิคเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีของยูเครนในปี 2014 ปัดตกข้อเสนอของ EU ทิ้งไป ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะถือเป็นการทำลายโอกาสทางเศรษฐกิจและความหวังของคนรุ่นใหม่ในอนาคต และในปีเดียวกันนั่นเอง วิคเตอร์ ยานูโควิช ถึงคราวต้องลงจากตำแหน่ง และลี้ภัยไปอยู่รัสเซีย เนื่องจากเกิดการปฏิวัติและการลุกฮือขึ้นมาประท้วงของประชาชนทั่วประเทศ
จากการแสดงออกของยูเครนในคราวนั้น ทำให้รัสเซียเริ่มรุกล้ำเข้ามามากกว่าที่เคย เนื่องจากมองว่ายูเครนไม่ได้ต้องการอยู่ข้างเดียวกับรัสเซียอีกแล้ว ทำให้ประธานาธิบดีปูตินประกาศยึดพื้นที่ ไครเมีย ของยูเครน โดยอ้างว่าต้องการให้ไครเมียกลับมาเป็นของรัสเซียอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุที่ทำการยึดพื้นที่ตรงนี้ นั่นก็เพราะว่าไครเมีย เคยเป็นดินแดนที่รัสเซียมอบให้ยูเครน เพื่อฉลองความสัมพันธ์ในอดีต สมัยที่ยังอยู่ด้วยกันในสหภาพโซเวียต
ทั้งยังเปิดให้ผู้คนในไครเมียโหวตเลือกว่าจะอยู่กับฝ่ายไหน ก่อนจะทราบผลในเวลาต่อมาว่า ผู้คนในไครเมียเกือบ 97% อยากอยู่ข้างรัสเซียมากกว่ายูเครน เป็นเหตุให้อีก 2 เมืองใหญ่ในยูเครนต้องการที่จะได้รับทางเลือกให้ออกจากยูเครนด้วย ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากทางการฝั่งรัสเซีย ทั้งนี้การกระทำของรัสเซีย ถูกมองว่าเป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยและการเมืองของประเทศอื่น จนทำให้รัสเซียถูกคว่ำบาตรออกจาก G8 ซึ่งเป็นกลุ่มรวมผู้นำชาติมหาอำนาจของโลก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เหตุการณ์ตึกถล่มที่คร่าชีวิตคนเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีน โดยสาเหตุมักจะมาจากการก่อสร้างอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่คำนึงถึงระบบความปลอดภัยต่างๆ โดยในปี 2559 นั้นมีเหตุการณ์ตึกสูงหลายชั้นจำนวนหลายตึกในเมืองทางตะวันตกของจีนอย่าง Wenzhou ถล่มลงทับคนงานทำให้มีผู้เสียชีวิต 20 ราย
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป