เจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งฟ้อง ผู้กำกับโจ้ และพวก รวม 4 ข้อหา จากกรณีใช้ถุงคลุมศีรษะผู้ต้องหายาเสพติดจนเสียชีวิต พร้อมยึดทรัพย์กว่า 131 ล้านบาท พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รองผบ.ตร. ได้เปิดเผยความคืบหน้าคดีของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรืออดีตผู้กำกับโจ้ สภ.เมืองนครสวรรค์ และพวก อดีตชุดปราบปรามยาเสพติด จ.นครสวรรค์ จากกรณีใช้ถุงคลุมศีรษะจนเป็นเหตุให้ นายจิระพงศ์ ธนะพัฒน์ หรือมาวิน ผู้ต้องหาคดียาเสพติด เสียชีวืตนั้น
พล.ต.อ.สุชาติ เปิดเผยว่า คดีนี้ตำรวจสรุปสำนวน และจะส่งสำนวนสั่งฟ้อง
พ.ต.อ.ธิติสรรค์ และพวกรวม 7 คน ส่งสำนวนให้อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต ในช่วงบ่ายวันที่ 3 พ.ย.64 สำหรับคดีนี้ มี นางสาวจันทร์จิรา ธนะพัฒน์ แม่ของนายมาวินและ พ.ต.อ. สุทธินันท์ คงแช่มดี พนักงานสอบสวน เป็นผู้กล่าวหา มีผู้ต้องหา 7 คน ประกอบด้วย 1. พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล 2. พ.ต.ต.รวีโรจน์ ดิษทอง3. ร.ต.อ.ทรงยศ คล้ายนาค4. ร้อยตำรวจโท ธรณินทร์ มาศวรรณา 5. ด.ต.วิสุทธิ์ บุญเขียว6. ด.ต.ศุภากร นิ่มชื่น 7. ส.ต.ต.ปวีณ์กร คำมาเร็ว
รองผบ.ตร.กล่าวว่า คดีนี้สอบสวนพยาน 35 ปาก พยานเอกสารจำนวน 14 รายการ วัตถุพยานจำนวน 7 รายการ คณะพนักงานสอบสวนลงความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 7 คน ฐานความผิด “ (1.) เป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต , (2.) เป็นเจ้าพนักงานของรัฐร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
(3.) ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย , (4.) ร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่นหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น
พล.ต.อ.สุชาติ กล่าวว่า สำหรับคดีรถหรูของอดีตผกก.โจ้ ที่จับกุมเป็นรถเถื่อน ส่งศุลกากร จำนวนกว่า 400 คัน นั้นคืบหน้า 80% แล้ว พบพิรุธทั้งการจับกุมรถที่ไม่มีที่มาที่ไป พิรุธเรื่องการรับสินบนนำจับ ขณะนี้กำลังขยายผล คดีนี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายคน ทั้งคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของอดีตผกก.โจ้ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร
พล.ต.อ.สุชาติ กล่าวด้วยว่า ในคดีของพ.ต.อ.ธิติสรรค์ ตำรวจและปปง.ได้อายัดทรัพย์ของ อดีตผกก.โจ้ ที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งคฤหาสน์ ย่านบางชัน มูลค่า 57 ล้านบาท รถ 24 คัน ประเมินราคา 70 ล้านบาท คอนโดมิเนียม 1ยูนิต 1.5 ล้านบาท ปืน 18 กระบอก 720,000 บาท รวม 131 ล้านบาท ขณะที่อดีตผกก.โจ้ มีหนี้สิน 76.63 ล้านบาท ทำให้เหลือทรัพย์สิน ประมาณ 53.4 ล้านบาท
ด้าน พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.เผยถึงการพิจารณาลงโทษทางวินัยอดีตผกก.โจ้และพวก ว่า ในการพิจารณาโทษทางวินัยร้ายแรงว่าจะปลดออก หรือ ไล่ออก นั้นยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา
ผกก.โจ้ ปฏิเสธทุก ข้อกล่าวหา เตรียมวงเงินประกันล้านบาท
ทนายของ ผกก.โจ้ ออกมาเปิดเผยว่า ผกก.โจ้ ปฏิเสธทุก ข้อกล่าวหา พร้อมเตรียมยื่นประกันตัวด้วยวงเงินหนึ่งล้านบาท นาย โชคชัย อ่างแก้ว ทนายความของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ อดีตผู้กำกับโจ้ อดีตผู้กำกับ สภ.เมืองนครสวรรค์ ออกมาปฏิเสธทุกข้อหา หลังจากที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อกล่าวหา 4 ข้อ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
โดยนาย โชคชัย กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ได้มีเจตนาจะฆ่า ซึ่งพฤติกรรมของอดีตผู้กำกับโจ้ ไม่มีแรงชักจูงใจให้ก่อเหตุ ไม่เคยรู้จักกันเป็นการส่วนตัว หรือโกรธแค้นกับผู้ต้องหา แต่เป็นการทำงานในการปฏิบัติหน้าที่ ขยายผลเรื่องยาเสพติด เพื่อขยายผลหาของกลางและผู้ร่วมขบวนการ ไม่ได้มีเจตนาจะฆ่าผู้ต้องหา
อย่างไรก็ตาม อดีตผู้กำกับโจ้ ตั้งแต่เข้าไปอยู่ในเรือนจำนานกว่า 2เดือนแล้ว ล่าสุดปรับตัวได้แล้ว ไม่ได้มีความเครียดหรือวิตกใดๆ ซึ่งเหตุผลที่จะขอประกันตัวนั้น เพราะมีคดีเกี่ยวข้องหลายคดี และมีข้อมูลมาก จึงมีความจำเป็นที่ต้องออกมาดำเนินการต่อสู้ตามกฎหมาย
“การยิงกระสุนยางในระยะประชิด แม้จะเล็งเป้าหมายได้ดีกว่า แต่กระสุนก็จะมีพลังรุนแรงเท่ากับกระสุนจริง จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่หากเล็งยิงกระสุนยางในระยะที่ห่างออกไป ความแม่นยำจะลดลงอย่างมาก เพราะกระสุนยางนั้นจะกระเด้งและหมุนในอากาศ จนพลาดเป้าได้ง่ายกว่ากระสุนจริง บ่อยครั้งที่ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตคือคนรอบข้างที่ถูกลูกหลง มากกว่าจะเป็นเป้าหมาย” พญ. โรหิณี ฮาร์ แพทย์ผู้ศึกษาผลกระทบของกระสุนยาง กล่าว
“มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือ มาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกาย หรือจิตใจของหญิงนั้น (2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากทารกคลอดออกมาจะมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติทางกายหรือจิตใจถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง (3) หญิงมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ (4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์”
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป